วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กฏหมายด้าน ไอซีที






กฎหมายด้าน ไอซีที
ความเป็นมาของกระทรวง ไอซีที
กระทรวงไอซีที หรือคำเต็มว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information Technology and Communication) ใช้คำย่อว่า ICT เนื่องจากการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสื่อสารในโลกยุคปัจจุบัน ข้อมูลข่าวสารจึงมีความจำเป็นในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ สังคมยุคใหม่มีความต้องการสื่อสารกันมากขึ้น เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารธุรกิจและชีวิตประจำวัน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ดร.ทักษิณ ชินวัตร ตระหนักถึงความสำคัญแห่งข้อมูลข่าวสาร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทย หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งนำไปสู่ การจัดตั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545

พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544
การใช้พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ฉบับนี้มีเหตุผลมาจากการทำธุรกรรมในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการในการติดต่อสื่อสารที่อาศัยการพัฒนาการทางเทคโนโลยีทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีความสะดวก แต่เนื่องจากการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวมีความแตกต่างจากวิธีการทำธุรกรรม ซึ่งมีกฎหมายรองรับอยู่ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก จึงต้องมีคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มีหน้าที่ในการส่งเสริมการพัฒนาการทางเทคโนโลยี ให้มีมาตรฐานน่าเชื่อถือ อันจะเป็นการส่งเสริมการใช้ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ด้วยการมีกฎหมายรองรับในลักษณะที่เป็นเอกรูปและสอดคล้องกับมาตรฐานที่นานาประเทศยอมรับ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

สรุป
การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 กิจการใดที่ต้องแจ้งให้ทราบหรือให้ผู้ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจดังกล่าวขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ใน
พระราชฎีกา มิฉะนั้นจะต้องมีความผิดตามกฎหมาย สำหรับความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการยกร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อยู่ ซึ่งควรจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง

คุณธรรมจริยธรรมในการทำงาน


คุณธรรมจริยธรรมในการทำงาน

ความหมายของคุณธรรม
คุณธรรม คือ คุณงามความดี เป็นลักษณะความรู้สึกนึกคิดภายในจิตใจของคนแต่ละคนซึ่งมีความแตกต่างกัน คนที่มีคุณธรรมสูง ย่อมประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงาม คนที่ขาดคุณธรรมย่อมประพฤติแต่ในทางที่ไม่ดี อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อตนเองและผู้อื่นได้

ความหมายของจริยธรรม
จริยธรรม คือ การประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามศีลธรรม เป็นลักษณะการแสดงออกทาง กาย วาจา ใจ

จริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์
จริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ต้องการของสถานประกอบการเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้สถานประกอบการได้บุคลากรในการทำงานด้านคอมพิวเตอร์ที่มีคุณสมบัติที่เพียบพร้อม คือ
1. มาทำงานก่อนเวลาเข้าทำงานและเลิกหลังเวลาทำงาน 15 นาที
2. ปฏิบัติงานตามหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ
3. ความมีวินัย
4. มีความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่
5. มีมนุษยสัมพันธ์
6. มีความสนใจใฝ่รู้
7. ความเชื่อมั่นในตนเอง
8. ความอดทนอดกลั้น

แนวทางการประกอบอาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์



แนวทางประกอบอาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์

การประกอบอาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน และทั้งในสถานที่ทำงานราชการ ตลอดจนธุรกิจเอกชนต่าง ๆ อย่างมากมาย จนทำให้บุคลากรทางด้านคอมพิวเตอร์เป็นที่ต้องการของหน่วยงานจำนวนมาก สำหรับงานอาชีพที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ สามารถจัดได้ดังต่อไปนี้
1. พนักงานคอมพิวเตอร์
2. พนักงานเตรียมข้อมูล
3. บรรณารักษ์คอมพิวเตอร์
4. ผู้เขียนโปรแกรม
5. นักวิเคราะห์ระบบ
6. นักบริหารทางด้านคอมพิวเตอร์
7. ครู- อาจารย์ผู้สอนคอมพิวเตอร์
8. เจ้าของธุรกิจคอมพิวเตอร์
9. พนักงานขายคอมพิวเตอร์
10. การเปิดร้านบริการให้เช่าเครื่องคอมพิวเตอร์
11. การรับพิมพ์งานและนามบัตรด้วยคอมพิวเตอร์
12. พนักงานซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์

สรุป
การประกอบอาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์ปัจจุบันมีจำนวนมากไม่ว่าเป็นหน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน หรืออาชีพส่วนตัว จะต้องเลือกอาชีพให้ตรงกับความรู้และความสามารถของตนเอง และติดตามเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เข้ามาอย่างไม่หยุดนิ่ง ถ้าเราไม่ติดตามและใฝ่เรียนรู้ให้ทันเทคโนโลยีเหล่านี้ จะทำให้เป็นคนล้าสมัยและหางานทำได้ยาก

คุณสมบัติของพนักงานคอมพิวเตอร์




คุณสมบัติของพนักงานคอมพิวเตอร์

จากการสำรวจสภาวะการมีงานทำของหน่วยงานต่างๆ ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน พบว่า คุณสมบัติของแรงงานที่นายจ้างต้องการมี 2 ลักษณะกว้าง ๆ คือ
1. คุณสมบัติด้านวิชาการ เช่น คะแนนเฉลี่ยผลการเรียน ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ ฯลฯ
2. คุณสมบัติด้านจริยธรรมและคุณธรรม เช่น ความอดทน ความมีวินัย และความซื่อสัตย์

ลักษณะที่พึงประสงค์ของพนักงานคอมพิวเตอร์ที่สถานประกอบการต้องการ

1. ด้านพุทธิพิสัย
2. ด้านจิตพิสัย
3. ด้านทักษะพิสัย

บทบาทและความสำคัญของอาชีพคอมพิวเตอร์






บทบาทและความสำคัญของอาชีพคอมพิวเตอร์

อาชีพคอมพิวเตอร์เป็นอาชีพที่ต้องใช้ความรู้ ความคิด เป็นอาชีพที่มีบทบาทความสำคัญในการช่วยพัฒนางานธุรกิจ งานอุตสาหกรรม และงานเกษตรกรรม ซึ่งเป็นเส้นทางชีวิตทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ

ความหมายของอาชีพคอมพิวเตอร์

อาชีพคอมพิวเตอร์ หมายถึง ผู้ประกอบอาชีพหรือทำงานที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะมีรายได้ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนค่าจ้างโดยตรงจากการทำงานทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งในอาชีพอิสระหรือเป็นพนักงานลูกจ้างในองค์กร

ผลประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากเอเปค 2003

- เพิ่มโอกาสในการขยายการค้าและการลงทุนของไทย
- ทำให้อุปสรรคและข้อกีดกันทางการค้าลดลง
- เพิ่มอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจการค้า
- ประชาสัมพันธ์ให้ทั่วโลกได้รู้จักประเทศไทยมากขึ้น และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว

การจัดตั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

เนื่องจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในยุคโลกาภิวัตน์ ปัจจุบันมีความสำคัญเป็นอย่างมาก รัฐบาลสมัย
พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรํฐมนตรีจึงได้มีการจัดตั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือเรียกย่อ ๆ ว่า (ICT) รับผิดชอบงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์


วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

จรรยาบรรณ




ความหมายของจรรยาบรรณ
จรรยาบรรณ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำอภิบายไว้ว่า หมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบการอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้นเพื่อรักษา และส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ จรรยาบรรณจึงเป็นหลักความประพฤติของบุคคลในแต่ละกลุ่มอาชีพ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้มีคุณธรรมและจริยธรรม

จรรยาบรรณพนักงานคอมพิวเตอร์
1. มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น
2. ไม่ละทิ้งงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
3. ไม่เปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับกับผู้อื่น
4. มีความจงรักภักดีต่อองค์กร
5. อุทิศตนให้กับวิชาชีพอย่างเต็มกำลังความสามารถ
6. ไม่ทุจริตและคอรัปชั่น
7. มีความรักและศรัทธาต่องานอาชีพ

จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ต
จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ได้บัญญัติไว้ 10 ประการ เป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตยึดถือไว้ เสมือนเป็นแม่บทของการปฏิบัติ ผู้ใช้พึงระลึกและเเตอนความจำเสมอ
1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคม อันติดตามมาจากการกระทำของท่าน
10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฏระเบียบ กติกา และมีมารยาท

อาชญากรรม 6 ประการ

1. การเงิน - อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ
2. การละเมิดลิขสิทธิ์ - การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเตอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม
3. การเจาะระบบ - การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาติ และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิ์การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาติ
4. การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ - ผลสืบเนื่องจากการรเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป
5. ภาพอาณาจารทางออนไลน์ - การเผยแพร่ภาพลามกอาณาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฏหมาย อินเตอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรมแบบเก่า
6. ภายในโรงเรียน - ถึงแม้ว่าอินเตอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนากร แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่งมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัย และมีความรับผิดชอบ โดยเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ เพื่อกระตุ้นให้เด็กไดเรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฏหมาย สิทธิ์ของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเตอร์เน็ตในทางที่ผิด

สรุป
ในการทำงานทุกอาชีพย่อมจะต้องมีจรรยาบรรณที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ทุกคน มีคุณธรรมและจริยธรรม ใช้เป็นหลักยึดถือในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพ ปราศจากอคติและข้อครหา
ใด ๆ ในการทำงาน ทำให้ผลงานที่ทำออกมาประสบผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี จรรยาบรรณในแต่ละอาชีพย่อมจะแตกต่างกันไปตามลักษณะงาน แต่รวม ๆ แล้วมุ่งให้ทุกคนประพฤติปฏิบัติแต่ในสิ่งที่ดีงามตามแต่ละอาชีพจะกำหนดขึ้นมา

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552

บุคลิกภาพและการพัฒนาบุคลิกภาพในการทำงาน




ความหมายของบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพ(Personality) หมายถึง บุคลิกลักษณะเฉพาะของแต่ล่ะบุคคล ซึ่งจะประกอบไปด้วยรูปร่างหน้าตา ลักษณะนิสัย อารมณ์ ความสนใจ ความสามารถ ตลอดจนความมีมนุษย์สัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง
บุคลิกภาพจะประกอบไปด้วยลักษณะภายนอกและภายในของแต่ล่ะบุคคล ทำให้บุคคลแต่ละคนนั้นมีสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจแตกต่างกันออกไป
- ลักษณะภายนอก ถือเป็นรูปธรรม หมายถึงรูปร่างหน้าตาของแต่ล่ะบุคคลที่เป็นมาแต่กำเนิด
ลักษณะทางร่างกายที่ทุกคนชื่นชอบ
1.มีส่วนสูงและน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐานของแต่ล่ะชนชาติ
2. มีผิวพรรณสวยงามเหมาะสมตามธรรมชาติของชนชาตินั้นๆ
3. ชาวเอเชียจะมีผมเป็นสีดำ ชาวยุโรปจะมีผมเป็นสีทอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมของแต่ล่ะทวีป
4. ความเข้มแข็งของสุภาพบุรุษ และความนุ่มนวลของสุภาพสตรีในแต่ล่ะชนชาติ
- ลักษณะภายใน ถือเป็นนามธรรม หมายถึง ลักษณะภายในทางด้านจิตใจ ด้านอุปนิสัยใจคอ ลักษณะความรู้สึกนึกคิด ความร่าเริงแจ่มใส ความปะพฤติและพฤติกรรมของแต่ละบุคคล

การพัฒนาบุคลิกภาพ

เนื่องจากบุคลิกภาพเป็นลักษณะของบุคคลโดยรวมของแต่ล่ะบุคคล ซึ่งย่อมแตกต่างกันทั้ง รูปร่างหน้าตา อารมณ์ สังคม สติปัญญา พฤติกรรม ตลอดจนการแสดงกริยาอาการต่างๆ ซึ่งถุอเป็นลักษณะนิสัยของแต่ละบุคคล ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาให้เป็นที่ยอมรับกับผู้ที่พบเห็น สำหรับการสร้างเสริมบุคลิกภาพให้เป็นที่ยอมรับของบุคคลภายนอกก็จะเป็ฯผู้ที่ได้รับความสำเร็จในการดำรงตนอยู่ในสังคมรอบตัวเราอย่างมีความสุข ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาบุคลิกภาพ

ประโยชน์ของการพัฒนาบุคลิกภาพ มีดังนี้

1. สร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรงตลอดเวลา ด้วยการออกกำลังกาย
2. ทำให้ร่างกายมีบุคลิกภาพที่ดีคล่องแคล่วว่องไว และสง่าผ่าเผย
3. เป็นผู้ที่มีความร่าเริง จิติใจแจ่มใส อารมณ์ดี
4. มีกริยามารยาท และพูดจาด้วยถ้อยคำที่สุภาพเป็นเสน่ห์กับผู้พบเห็น
5. เป็นผู้มีเหตุผลไม่วู่วาม
6. มีจิตใจที่เข้มแข็ง
7. ยอมรัความเป็นจริงของโลกมนุษย์
8. มีความเชื่อมั่นในตัวเอง
9. มีความคิดไฝ่หาความก้าวหน้าในการทำงาน
10. ปรับปรุงตนเองให้เข้ากับสังคม

การพัฒนาบุคลิกภาพในวิชาจริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์ ผู้เรียนจะได้รับสิ่งดี ๆ ตอบแทน ดังนี้

1. ได้รับการพิจารณาเข้าทำงานได้ง่ายกว่าบุคคลอื่น
2. สร้างภูมิค้มกันให้กับตัวเองในการอยู่ร่วมกันในสังคม
3. สร้างบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยที่ดีแก่ผู้พบเห็น
4. มีความเข้าใจและยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต
5. สร้างความกระตือรือร้น และใฝ่ดีตลอดเวลา
6. มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน
7. มีความสุขต่อการทำงาน
8. สร้างความเข้าใจกับบุคคลอื่น
9. ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
10. สร้างความหวังและกำลังใจให้ตนเอง

การพัฒนาตนเอง

สังคมไทยทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอันมาก จะเห็นได้ว่าสังคมไทยรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้มากมายหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นแนวคิด วิถีชีวิต คตลดจนการให้ความสำคัญแก่
วัตถุนิยม ฯลฯ ทำให้สังคมไทยในปัจจุบันค่อนข้างจะสับสนและมีความขัดแย้งระหว่างบุคคลต่าง ๆ ที่อยู่ในสังคมค่อนข้างมาก จนน่าจะมีการทบทวนดูว่าเราควรจะพัฒนาตนเองไปในทิศทางใดจึงจะถูกต้อง
และเหมาะสม

ประเด็นสำคัญของการพัฒนาตนเองก็คือ การดำรงชีวิตโดยรู้จักดำรงชีวิตโดยประมาณตนไม่ประมาท มีความสำนึกที่จะเป็นคนดี
คิดดี ปฏิบัติดี มุ่งมั่นทำในสิ่งที่ดี ถูกต้อง ไม่หลงตัว ไม่ฟุ้งเฟ้อ
เราจะสุขหรือทุกข์ เพราะเราสร้างกรรมต่าง ๆ ให้ผลตามสนอง

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

พรบ.คอมพิวเตอร์2550


หมวด ๑ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบ ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้น มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้น มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยปกปิด หรือปลอมแปลงแหล่งที่มา ของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันที หรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร ์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคง ปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาทถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่ง ที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่ผู้อื่นหรือประชาชน(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย ต่อความมั่นคงของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิด เกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)(๒) (๓) หรือ (๔)
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใด จงใจสนับสนุน หรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษ เช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้น เป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่ง ตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ นอกราชอาณาจักรและ(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษจะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร