วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552

บุคลิกภาพและการพัฒนาบุคลิกภาพในการทำงาน




ความหมายของบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพ(Personality) หมายถึง บุคลิกลักษณะเฉพาะของแต่ล่ะบุคคล ซึ่งจะประกอบไปด้วยรูปร่างหน้าตา ลักษณะนิสัย อารมณ์ ความสนใจ ความสามารถ ตลอดจนความมีมนุษย์สัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง
บุคลิกภาพจะประกอบไปด้วยลักษณะภายนอกและภายในของแต่ล่ะบุคคล ทำให้บุคคลแต่ละคนนั้นมีสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจแตกต่างกันออกไป
- ลักษณะภายนอก ถือเป็นรูปธรรม หมายถึงรูปร่างหน้าตาของแต่ล่ะบุคคลที่เป็นมาแต่กำเนิด
ลักษณะทางร่างกายที่ทุกคนชื่นชอบ
1.มีส่วนสูงและน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐานของแต่ล่ะชนชาติ
2. มีผิวพรรณสวยงามเหมาะสมตามธรรมชาติของชนชาตินั้นๆ
3. ชาวเอเชียจะมีผมเป็นสีดำ ชาวยุโรปจะมีผมเป็นสีทอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมของแต่ล่ะทวีป
4. ความเข้มแข็งของสุภาพบุรุษ และความนุ่มนวลของสุภาพสตรีในแต่ล่ะชนชาติ
- ลักษณะภายใน ถือเป็นนามธรรม หมายถึง ลักษณะภายในทางด้านจิตใจ ด้านอุปนิสัยใจคอ ลักษณะความรู้สึกนึกคิด ความร่าเริงแจ่มใส ความปะพฤติและพฤติกรรมของแต่ละบุคคล

การพัฒนาบุคลิกภาพ

เนื่องจากบุคลิกภาพเป็นลักษณะของบุคคลโดยรวมของแต่ล่ะบุคคล ซึ่งย่อมแตกต่างกันทั้ง รูปร่างหน้าตา อารมณ์ สังคม สติปัญญา พฤติกรรม ตลอดจนการแสดงกริยาอาการต่างๆ ซึ่งถุอเป็นลักษณะนิสัยของแต่ละบุคคล ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาให้เป็นที่ยอมรับกับผู้ที่พบเห็น สำหรับการสร้างเสริมบุคลิกภาพให้เป็นที่ยอมรับของบุคคลภายนอกก็จะเป็ฯผู้ที่ได้รับความสำเร็จในการดำรงตนอยู่ในสังคมรอบตัวเราอย่างมีความสุข ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาบุคลิกภาพ

ประโยชน์ของการพัฒนาบุคลิกภาพ มีดังนี้

1. สร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรงตลอดเวลา ด้วยการออกกำลังกาย
2. ทำให้ร่างกายมีบุคลิกภาพที่ดีคล่องแคล่วว่องไว และสง่าผ่าเผย
3. เป็นผู้ที่มีความร่าเริง จิติใจแจ่มใส อารมณ์ดี
4. มีกริยามารยาท และพูดจาด้วยถ้อยคำที่สุภาพเป็นเสน่ห์กับผู้พบเห็น
5. เป็นผู้มีเหตุผลไม่วู่วาม
6. มีจิตใจที่เข้มแข็ง
7. ยอมรัความเป็นจริงของโลกมนุษย์
8. มีความเชื่อมั่นในตัวเอง
9. มีความคิดไฝ่หาความก้าวหน้าในการทำงาน
10. ปรับปรุงตนเองให้เข้ากับสังคม

การพัฒนาบุคลิกภาพในวิชาจริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์ ผู้เรียนจะได้รับสิ่งดี ๆ ตอบแทน ดังนี้

1. ได้รับการพิจารณาเข้าทำงานได้ง่ายกว่าบุคคลอื่น
2. สร้างภูมิค้มกันให้กับตัวเองในการอยู่ร่วมกันในสังคม
3. สร้างบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยที่ดีแก่ผู้พบเห็น
4. มีความเข้าใจและยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต
5. สร้างความกระตือรือร้น และใฝ่ดีตลอดเวลา
6. มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน
7. มีความสุขต่อการทำงาน
8. สร้างความเข้าใจกับบุคคลอื่น
9. ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
10. สร้างความหวังและกำลังใจให้ตนเอง

การพัฒนาตนเอง

สังคมไทยทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอันมาก จะเห็นได้ว่าสังคมไทยรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้มากมายหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นแนวคิด วิถีชีวิต คตลดจนการให้ความสำคัญแก่
วัตถุนิยม ฯลฯ ทำให้สังคมไทยในปัจจุบันค่อนข้างจะสับสนและมีความขัดแย้งระหว่างบุคคลต่าง ๆ ที่อยู่ในสังคมค่อนข้างมาก จนน่าจะมีการทบทวนดูว่าเราควรจะพัฒนาตนเองไปในทิศทางใดจึงจะถูกต้อง
และเหมาะสม

ประเด็นสำคัญของการพัฒนาตนเองก็คือ การดำรงชีวิตโดยรู้จักดำรงชีวิตโดยประมาณตนไม่ประมาท มีความสำนึกที่จะเป็นคนดี
คิดดี ปฏิบัติดี มุ่งมั่นทำในสิ่งที่ดี ถูกต้อง ไม่หลงตัว ไม่ฟุ้งเฟ้อ
เราจะสุขหรือทุกข์ เพราะเราสร้างกรรมต่าง ๆ ให้ผลตามสนอง

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

พรบ.คอมพิวเตอร์2550


หมวด ๑ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบ ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้น มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้น มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยปกปิด หรือปลอมแปลงแหล่งที่มา ของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันที หรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร ์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคง ปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาทถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่ง ที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่ผู้อื่นหรือประชาชน(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย ต่อความมั่นคงของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิด เกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)(๒) (๓) หรือ (๔)
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใด จงใจสนับสนุน หรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษ เช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้น เป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่ง ตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ นอกราชอาณาจักรและ(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษจะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร