วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กฏหมายด้าน ไอซีที






กฎหมายด้าน ไอซีที
ความเป็นมาของกระทรวง ไอซีที
กระทรวงไอซีที หรือคำเต็มว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information Technology and Communication) ใช้คำย่อว่า ICT เนื่องจากการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสื่อสารในโลกยุคปัจจุบัน ข้อมูลข่าวสารจึงมีความจำเป็นในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ สังคมยุคใหม่มีความต้องการสื่อสารกันมากขึ้น เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารธุรกิจและชีวิตประจำวัน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ดร.ทักษิณ ชินวัตร ตระหนักถึงความสำคัญแห่งข้อมูลข่าวสาร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทย หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งนำไปสู่ การจัดตั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545

พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544
การใช้พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ฉบับนี้มีเหตุผลมาจากการทำธุรกรรมในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการในการติดต่อสื่อสารที่อาศัยการพัฒนาการทางเทคโนโลยีทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีความสะดวก แต่เนื่องจากการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวมีความแตกต่างจากวิธีการทำธุรกรรม ซึ่งมีกฎหมายรองรับอยู่ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก จึงต้องมีคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มีหน้าที่ในการส่งเสริมการพัฒนาการทางเทคโนโลยี ให้มีมาตรฐานน่าเชื่อถือ อันจะเป็นการส่งเสริมการใช้ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ด้วยการมีกฎหมายรองรับในลักษณะที่เป็นเอกรูปและสอดคล้องกับมาตรฐานที่นานาประเทศยอมรับ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

สรุป
การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 กิจการใดที่ต้องแจ้งให้ทราบหรือให้ผู้ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจดังกล่าวขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ใน
พระราชฎีกา มิฉะนั้นจะต้องมีความผิดตามกฎหมาย สำหรับความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการยกร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อยู่ ซึ่งควรจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง

คุณธรรมจริยธรรมในการทำงาน


คุณธรรมจริยธรรมในการทำงาน

ความหมายของคุณธรรม
คุณธรรม คือ คุณงามความดี เป็นลักษณะความรู้สึกนึกคิดภายในจิตใจของคนแต่ละคนซึ่งมีความแตกต่างกัน คนที่มีคุณธรรมสูง ย่อมประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงาม คนที่ขาดคุณธรรมย่อมประพฤติแต่ในทางที่ไม่ดี อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อตนเองและผู้อื่นได้

ความหมายของจริยธรรม
จริยธรรม คือ การประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามศีลธรรม เป็นลักษณะการแสดงออกทาง กาย วาจา ใจ

จริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์
จริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ต้องการของสถานประกอบการเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้สถานประกอบการได้บุคลากรในการทำงานด้านคอมพิวเตอร์ที่มีคุณสมบัติที่เพียบพร้อม คือ
1. มาทำงานก่อนเวลาเข้าทำงานและเลิกหลังเวลาทำงาน 15 นาที
2. ปฏิบัติงานตามหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ
3. ความมีวินัย
4. มีความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่
5. มีมนุษยสัมพันธ์
6. มีความสนใจใฝ่รู้
7. ความเชื่อมั่นในตนเอง
8. ความอดทนอดกลั้น

แนวทางการประกอบอาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์



แนวทางประกอบอาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์

การประกอบอาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน และทั้งในสถานที่ทำงานราชการ ตลอดจนธุรกิจเอกชนต่าง ๆ อย่างมากมาย จนทำให้บุคลากรทางด้านคอมพิวเตอร์เป็นที่ต้องการของหน่วยงานจำนวนมาก สำหรับงานอาชีพที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ สามารถจัดได้ดังต่อไปนี้
1. พนักงานคอมพิวเตอร์
2. พนักงานเตรียมข้อมูล
3. บรรณารักษ์คอมพิวเตอร์
4. ผู้เขียนโปรแกรม
5. นักวิเคราะห์ระบบ
6. นักบริหารทางด้านคอมพิวเตอร์
7. ครู- อาจารย์ผู้สอนคอมพิวเตอร์
8. เจ้าของธุรกิจคอมพิวเตอร์
9. พนักงานขายคอมพิวเตอร์
10. การเปิดร้านบริการให้เช่าเครื่องคอมพิวเตอร์
11. การรับพิมพ์งานและนามบัตรด้วยคอมพิวเตอร์
12. พนักงานซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์

สรุป
การประกอบอาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์ปัจจุบันมีจำนวนมากไม่ว่าเป็นหน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน หรืออาชีพส่วนตัว จะต้องเลือกอาชีพให้ตรงกับความรู้และความสามารถของตนเอง และติดตามเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เข้ามาอย่างไม่หยุดนิ่ง ถ้าเราไม่ติดตามและใฝ่เรียนรู้ให้ทันเทคโนโลยีเหล่านี้ จะทำให้เป็นคนล้าสมัยและหางานทำได้ยาก

คุณสมบัติของพนักงานคอมพิวเตอร์




คุณสมบัติของพนักงานคอมพิวเตอร์

จากการสำรวจสภาวะการมีงานทำของหน่วยงานต่างๆ ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน พบว่า คุณสมบัติของแรงงานที่นายจ้างต้องการมี 2 ลักษณะกว้าง ๆ คือ
1. คุณสมบัติด้านวิชาการ เช่น คะแนนเฉลี่ยผลการเรียน ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ ฯลฯ
2. คุณสมบัติด้านจริยธรรมและคุณธรรม เช่น ความอดทน ความมีวินัย และความซื่อสัตย์

ลักษณะที่พึงประสงค์ของพนักงานคอมพิวเตอร์ที่สถานประกอบการต้องการ

1. ด้านพุทธิพิสัย
2. ด้านจิตพิสัย
3. ด้านทักษะพิสัย

บทบาทและความสำคัญของอาชีพคอมพิวเตอร์






บทบาทและความสำคัญของอาชีพคอมพิวเตอร์

อาชีพคอมพิวเตอร์เป็นอาชีพที่ต้องใช้ความรู้ ความคิด เป็นอาชีพที่มีบทบาทความสำคัญในการช่วยพัฒนางานธุรกิจ งานอุตสาหกรรม และงานเกษตรกรรม ซึ่งเป็นเส้นทางชีวิตทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ

ความหมายของอาชีพคอมพิวเตอร์

อาชีพคอมพิวเตอร์ หมายถึง ผู้ประกอบอาชีพหรือทำงานที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะมีรายได้ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนค่าจ้างโดยตรงจากการทำงานทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งในอาชีพอิสระหรือเป็นพนักงานลูกจ้างในองค์กร

ผลประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากเอเปค 2003

- เพิ่มโอกาสในการขยายการค้าและการลงทุนของไทย
- ทำให้อุปสรรคและข้อกีดกันทางการค้าลดลง
- เพิ่มอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจการค้า
- ประชาสัมพันธ์ให้ทั่วโลกได้รู้จักประเทศไทยมากขึ้น และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว

การจัดตั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

เนื่องจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในยุคโลกาภิวัตน์ ปัจจุบันมีความสำคัญเป็นอย่างมาก รัฐบาลสมัย
พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรํฐมนตรีจึงได้มีการจัดตั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือเรียกย่อ ๆ ว่า (ICT) รับผิดชอบงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์